วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ทดสอบ Blog

 ตอนนี้กำลังสอนเรื่อง Blog ให้กับนักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านน้ำตวง😁😁😁

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566


บรรยากาศโรงเรียนของฉันในเช้าวันนี้
คุณครูได้ให้ทดสอบการโพสคลิปวีดิโอลงในเว็บบล็อก

 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566

 คอมพิวเตอร์ชั้น ม.3 วันนี้

ครูให้นักเรียนสร้างบล๊อก และทำการโพสต์ข้อความบนบล๊อกของตนเอง พร้อมกับอ้างอิงแหล่งที่มา

😉ตัวอย่าง😊

******************************



แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ ๖๓ ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ มีเพลงประกอบหลายเพลง เพลงที่น่าสนใจได้จัดลำดับไว้ ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ เพลงที่ ๑ เป็นเพลงสำหรับไหว้ครู เพลงที่ ๒ ท่วงทีและทำนอง แนะนำให้คนตายเดินทางขึ้นสวรรค์ เพลงที่ ๓ แนะให้ขึ้นม้าขี่ไปเมืองผี หรือเมืองสวรรค์ แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา เพลงที่ ๔ จะนำไปฝังศพ แนะนำให้ใช้ชีวิตในเมืองผี ปัจจุบันวัฒนธรรมการเป่าแคนเปลี่ยนแปลงไป ใช้เป่าในหลายงาน แม้งานรื่นเริงก็ใช้เป่าอาจเป็นเพราะมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน เสียงแคนไพเราะมาก น้ำเสียง ลีลาทำนอง ให้อารมณ์ ความรู้สึกที่บอกถึงความรักอาลัย และความสูญเสีย นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล สอนถึงวิธีการทำแคนโดยละเอียด เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวม้งไปสู่ลูกหลานของชาวม้ง ท่านบอกว่า ขณะนี้ทั้งประเทศมีผู้ทำแคนชาวม้ง ได้ไม่กี่คน มีความตั้งใจที่อยากจะถ่ายทอดสู่เยาวชนหรือผู้สนใจ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการดำเนินการ ร้องขอผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยลงทุนในการดำเนินการตั้งโรงเรียนการทำแคนและเป่าแคน เพื่อสืบทอดวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งอีกแนวทางหนึ่ง ใครเล่าจะช่วยภารกิจอันสำคัญของนายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล…
        การเป่าแคนหรือเก้ง ของชาวม้งนี้ มีท่าเต้นประกอบการเป่าแคนด้วย มีลีลาและอารมณ์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้และน่าสืบทอด การบันทึกเรื่องราวของการทำแคน การเป่าแคน การเต้นตามทำนองแคน สู่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม จึงการบันทึกวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามารับใช้วัฒนธรรมอาจทำให้วัฒนธรรม การเป่าแคน การทำแคน และการเต้นตามทำนองของแคน อยู่คู่วัฒนธรรมชาวม้งต่อไปอย่างนิจนิรันดร์


ที่มา : https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1436&code_db=610007&code_type=01

ทดสอบ Blog

 ตอนนี้กำลังสอนเรื่อง Blog ให้กับนักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านน้ำตวง😁😁😁